
จำไว้ให้ขึ้นใจห้ามค้ำประกันหนี้ให้ใครเด็ดขาด ถ้าไม่ใช่บุคคลเหล่านี้
หัวอกของผู้ค้ำประกันทุกวันนี้ เจ็บปวดและเจ็บช้ำยิ่งนัก
เมื่อลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ “ไม่มีไม่หนีไม่จ่าย”
เจ้าหนี้ก็จะฟ้องผู้ค้ำประกัน เข้ามาในคดีด้วย และสุดท้าย
ผู้ค้ำประกันก็ต้องร่วมรับผิด ในหนี้ที่ตนไม่ได้เป็นผู้ก่อขึ้น
คนต้องการผ่อนบ้าน คนต้องการผ่อนรถ
คนต้องการกู้ยืมเ งิน คนที่ต้องการทำงาน คนเหล่านี้ล่ะครับ
จำเป็นต้องใช้คนค้ำประกัน และเมื่อเขามาให้เราช่วยค้ำประกันให้
เราจะทำอย่างไรดี? ต้องท่องจำไว้ให้แม่นเลยครับว่า
“เราจะไม่ค้ำประกันให้ใครเป็นอันขาด”
ยกเว้นพ่อ-แม่ของเรา ลูกของเราสามีหรือภรรย า
ตามกฎหมาย ของเราเท่านั้น ส่วนญาติ
พี่น้องเพื่อนสนิท เพื่อนทั่วไป ต้องปฏิเสธอย่างหนักแน่น
ไม่ว่าเราจะถูกตื้อ หรือขอร้องเพียงใดก็ตาม
ทำไมต้องใจแข็ง? เพราะอะไรน่ะหรือครับ
“เพราะเมื่อผู้กู้ไม่จ่าย ผู้ค้ำประกันก็ต้องจ่าย”
เจ้าหนี้ ต้องฟ้องผู้ค้ำประกัน อย่างแน่นอน
และโดยมากเมื่อมีการบังคับคดี
มักจะเป็นผู้ค้ำประกัน ที่มีทรัพย์สินให้ยึด
หรือมีเงิ นเดือนให้ อายัดกันอยู่เสมอ
มีเรื่องจริงเรื่องหนึ่ง เล่าให้ฟังเป็นอุทาหรณ์..
ลุงคนหนึ่งไปค้ำประกันรถไถยี่ห้อดัง
ให้ญาติซึ่งญาติคนนี้ เป็นญาติสนิทบ้านติดกัน
ปรากฏว่าญาติ ไม่จ่ายบริษัทรถไถก็ฟ้อง
ฟ้องทั้งลูกหนี้ และผู้ค้ำประกัน
ทั้งสองคนเจ้าหนี้บังคับคดี โดยอายัดสิทธิ
เรียกร้องของผู้ค้ำประกันคนหนึ่ง ซึ่งก็คือลุงคนนี้ล่ะ
ส่วนญาติซึ่งเป็นลูกหนี้ ไม่มีทรัพย์สินอะไร
หนำซ้ำยังเดินลอยหน้าลอยตาให้เห็น
ไม่รู้สึกทุกข์ร้อนอะไร\ อย่างใดทั้งสิ้น จนลุงทุกข์ใจ
แทบอย ากจะหายไปจากโลกนี้ ครอบครัวลูกหลาน
ก็พาทุกข์ใจไปด้วยเดือดร้อนกันไปหมด
เวลาเจ้าหนี้ฟ้องบังคับ ชำระหนี้ กับลูกหนี้
เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้ เป็นจำเลยที่ 1 และฟ้องผู้ค้ำประกัน
เป็นจำเลยที่ 2 เสมอ เมื่อลูกหนี้และผู้ค้ำประกันมาศาล
และมีการตกลงประนีประนอม ยอมความกัน ลูกหนี้ตกลง
ผ่อนชำระให้กับเจ้าหนี้ แต่เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ผ่อนชำระหนี้
เจ้าหนี้จะดำเนินการสืบทรัพย์ จำเลยทุกคน
หากเจอของใคร ก็จะบังคับคดี เอากับคนนั้น
ซึ่งโดยมากหวย มักจะออกที่ผู้ค้ำประกัน
เนื่องจากเจ้าหนี้ มักกำหนดคุณสมบัติ
ของผู้ค้ำประกันเอาไว้แล้ว ตอนทำสัญญา
จึงไม่แปลกที่มักจะพบทรัพย์สินของผู้ค้ำประกันมากกว่า
ที่จะพบทรัพย์สินของลูกหนี้นี่แหละครับ เรื่องของการเป็นผู้ค้ำประกัน..
ซึ่งหากไม่จำเป็นจริงๆ ไม่ใช่คนในครอบครัวจริงๆ เช่น พ่อแม่แท้ๆ
ของเรา ลูกของเรา สามีหรือภรรย า โดยชอบด้วยกฎหมายของเรา
ต้องจำไว้ให้ขึ้นใจ เลยนะครับว่า “ห้ามค้ำประกันหนี้ให้ใครโดยเด็ดขาด”
โดยเฉพาะญาติพี่น้อง เพื่อนแฟนที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส
รวมไปถึงพี่น้องแท้ๆ บางคนก็ต้องระวัง ให้มากเช่นกัน
จะได้ไม่ต้องมานั่งช้ำใจ กลุ้มใจ ผู้เขียนเองก็ยึดหลักนี้มา
โดยตลอดเช่นกัน ให้ช่วยอะไรช่วยได้หมด
ทุกเรื่องมีข้อยกเว้นอยู่เพียงสองเรื่องเท่านั้น
คือให้เป็นผู้ค้ำประกัน และให้ยืมเ งิน เพราะเคยเจอ
ประสบการณ์เ ลวร้ ายมาเช่นกัน ก่อนให้เราค้ำประกัน
ก่อนจะยืมเ งินเรา จะพูดทุกอย่างสารพัด จนดูดีไปหมด
น่าเห็นใจ น่าสงสารอย่างที่สุด แต่เมื่อมีปัญหาแล้ว
เปลี่ยนเป็นคนละคน เขาถึงว่า “ไม่โดนกับตัวเองไม่มีวันเข้าใจ”
ดังนั้นไม่ค้ำประกันให้ใครเลย ดูจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด..ว่าไหมครับ?
ที่มา โค้ชวันพุธกฤตวัฏ