
1. อย่านำเงินสำรองฉุกเฉินออกมาใช้โดยไม่จำเป็น
6 เท่า ของรายจ่าย รายเดือนคือเงินสำรองฉุกเฉิน ขั้นต่ำที่กำหนดไว้ตามหลักการวางแผนการเงินส่วนบุคคลวัตถุประสงค์หลัก คือเป็นเงินที่จะสามารถนำมาเยียวยาเรื่องฉุกเฉินต่างๆ
ที่เกิดขึ้น ในชีวิตไม่ว่าจะเป็นตกงาน ประสบอุบัติเหตุธุรกิจประสบปัญหา ฯลฯบางคนไม่ได้มีปัญหาเรื่องการเงินหรือธุรกิจ แต่นำเงินส่วนนี้มาใช้เมื่อถึงคราวเกิดปัญหาจริงๆ ก็ไม่เหลือเงินสำรองไว้ใช้
2. อย่าค้ำประกันให้ใครเป็นอันขาด
ข้อนี้อย่าว่าแต่ในยามเศรษฐกิจไม่ดีเลยบางคนตั้งปณิธานไว้จะรักกันแค่ไหนก็จะไม่ค้ำประกันให้ใครเด็ดขาดหลายคน ต้องเจอบทเรียนชีวิตสะดุดจากการค้ำประกันให้ผู้อื่นเข้าข่าย
“เนื้อไม่ได้กินหนังไม่ได้รองนั่ง แต่เอากระดูกมาแขวนคอ”เพราะการค้ำประกันคือการสัญญาว่าบุคคลหนึ่งจะชดใช้หนี้แทนลูกหนี้หากลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้หรือไม่สามารถชำระหนี้ได้
3. หลีกเลี่ยง การสร้างหนี้ใหม่
อะไรที่เหนือความจำเป็น พักไว้ก่อนเถอะค่ะไม่ว่าคุณจะวางแผนเปลี่ยน รถคันใหม่ให้ใหญ่กว่าเดิมหรือซื้อบ้านหลังที่สองไว้ตากอากาศเพราะตอนเศรษฐกิจอ่อนแอแบบนี้อะไร
ก็สามารถเกิดขึ้นได้ถนอมเนื้อถนอมตัวอย่าเพิ่งสร้างหนี้ใหม่ให้เป็นภาระเลยจะได้ไม่ต้องใช้ชีวิตแบบห่วงหน้าพะวงหลัง
4. อย่าลงทุนหวือหวาหวังรวยเร็วโดยไม่มีความรู้
คนที่ตั้งหน้าตั้งตา จะหาเงินให้ได้เป็นกอบเป็นกำโดยนำความโลภเป็นที่ตั้งอาจนำพาตัวเองไปลงทุนในช่องทางที่หวือหวาโดยไม่มีความรู้ เช่น พวกหุ้นปั่นทั้งหลายช่องทางการลงทุน
ที่ไม่ชอบมาพากลเช่น พวก แ ช ร์ ลูกโซ่ หรือการหลอกให้นำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ที่อาจไม่มีอยู่จริงโดยมีผลตอบแทนสูงเย้ายวนใจไม่มีอะไรที่ได้มาง่ายๆ และ
เป็นกอบเป็นกำในระยะเวลาอันรวดเร็วหรอกค่ะที่สำคัญอย่าลงทุนในสิ่งที่ตนเองไม่มีความรู้เป็นที่ดีที่สุด
5. พักไว้ก่อนหากคิดจะลงทุนเพิ่ม
ในยามเศรษฐกิจไม่ดีแน่นอนว่า การค้าขายหรือ ผลกำไรย่อมลดลงผู้ประกอบการทั้งหลายต่างคิดหาหนทางที่จะเพิ่มรายได้ ให้มากขึ้นเพื่อดึงยอดขายและกำไรกลับมา
หนึ่งในวิธีการเพิ่มกำไรคือการลงทุนเพิ่มจะเป็นการเปิด สาขาใหม่เพื่อเพิ่มยอดขายหรืออย่างอื่นที่ต้องใช้เงินจำนวนมากตรงนี้ขอบอกว่า พักไว้ก่อนดีกว่า