Home ข้อคิด 7 เรื่องต้องคิดวางแผน หลังอายุ 30 ปี มีเงินเก็บแล้วยัง..และจะตั้งตัวได้อย่างไร

7 เรื่องต้องคิดวางแผน หลังอายุ 30 ปี มีเงินเก็บแล้วยัง..และจะตั้งตัวได้อย่างไร

1.วางแผนเกษียณหรือยัง

“แก่ไม่ว่า แต่อย่าแก่แบบไม่มีเงิ นครับ”  ที่บอกแบบนี้ เพราะอย ากให้วางแผนเกษียณ

กันไวๆ ยิ่งวางเร็วยิ่งดี ดังนั้นการเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ ก็เพื่อผลประโยชน์ สำหรับเราเองครับ

ไม่ต้องลำบากลูกหลาน

2.รู้ตัวเองก่อนว่ามีอะไรมากกว่ากันระหว่าง“ทรัพย์สิน”กับ“หนี้สิน”

หากว่าเพื่อนๆ มีรายได้เดือนนึง หลักหลายหมื่น แต่กลับมีรายจ่ายสูง พอๆกับรายรับ

สิ่งที่ควรใส่ใจอย่างแรกเลย คือลิสต์รายการของทรัพย์สิน เพื่อเปรียบเทียบกับหนี้สิน

ที่มีทั้งหมดครับ และถ้าหากมานั่งงงว่า..เฮ้ยเราก็มีสินทรัพย์เยอะนะ มือถือรุ่นใหม่ๆ,

กล้องถ่ายรูปแพงๆฯลฯ แต่ทำไมยังจนอยู่ มีแต่หนี้สิน คิดง่ายๆเลยครับ

มือถือ 1 เครื่องราคาประมาณ 25,000–30,000 บาท แต่ราคาข าย ต่อมูลค่า

มันหายไปแทบจะครึ่งนึงแล้วครับ แค่นี้ก็พอจะมองออกแล้วใช่มั้ยครับ

ว่าเพื่อนๆต้องเริ่มกลับมาวางแผน การเงิ นให้ตัวเองได้แล้วเริ่มต้นง่ายๆ

ที่เริ่มสะสมทรัพย์สิน ที่ก่อให้เกิดรายได้ เช่น หุ้นกองทุนรวมเป็นต้น

3.เริ่มทยอยปลดหนี้ให้หมดได้แล้ว

ไม่ว่าจะเป็นค่าผ่อนรถ,ค่าบัตรเครดิต,หรือแม้แต่ค่าผ่อนสินค้า 0% ต่างๆ

นั่นเพราะยิ่งปลดหนี้เร็วเท่าไหร่ เราก็สามารถนำเ งิน ไปต่อยอดได้มากขึ้นเท่านั้นครับ

และถ้ายังไม่แน่ใจว่า จะปลดหนี้ยังไงดี แนะนำให้เริ่มจากดูว่า เรามีหนี้ทั้งหมดกี่ราย,

จำนวนเ งินที่เป็นหนี้ของแต่ละราย และอัตราด อกเบี้ย จากนั้นให้จัดลำดับหนี้

โดยให้หนี้ ที่มีอัตราด อกเบี้ยสูงสุด อยู่ด้านบน และเริ่มต้นปลดหนี้

จากก้อนนั้นก่อน แล้วค่อยๆทยอยปิดหนี้ก้อนอื่นๆ ต่อไปจนหมดครับ

4.สร้างงบการเงิ นในแบบของตัวเองได้แล้ว

แม้เพื่อนๆจะหาเงิ นได้มาก แต่หากบริหารเงิ นไม่ดี เงิ นที่ได้มา ก็จะหายไปง่ายๆ

เรียกว่า..“รวยเดย์รวยกันแค่วันสิ้นเดือน” ดังนั้นสิ่งที่เพื่อนๆ ต้องให้ความสนใจ

ในลำดับถัดมา คือการสร้างงบรายจ่าย หากไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นยังไง

ให้เริ่มต้นจากงบการเงิ น 50-30-20 ดูครับ (สิ่งจำเป็น,สิ่งอย ากได้,ออมฉุกเฉิน)

5.คุณต้องมีเงิ นสำรองฉุกเฉินอย่างน้อย 6 เดือน

คิดจาก(รายจ่ายปกติต่อเดือน x 6 เดือน=เงิ นสำรองฉุกเฉินที่ควรมี) เงิ นจำนวนนี้

จะช่วยให้เราสามารถรับมือ กับปัญหาด้านการเงิ นได้ โดยไม่ต้องกู้ยืมเ งินคนอื่น

เพราะการกู้ยืมเงิ น อาจจะทำให้เรากลับเข้าไป อยู่ในวงจรหนี้อีกครั้ง

6.บริหารความเสี่ยงให้เป็น

การมีสติช่วยให้เราผ่านทุกปัญหาได้ เพราะสิ่งที่เราจะพูดต่อไปนี้ คือเรื่องของความเสี่ยงต่างๆ

ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าคุณจะโสด หรือไม่ก็ตาม ความเสี่ยงที่ควรพิจารณามี 3 ด้านคือ

6.1 ความเสี่ยงด้านชีวิต และสุขภาพ:เริ่มจากการคิดว่า หากเราเจ็บป่วย หรือเกิดเหตุไม่คาดคิด

ครอบครัวจะต้องลำบาก เพราะขาดกำลังสำคัญรึเปล่า?

หากคำตอบคือใช่ เราลองบริหารความเสี่ยง โดยการซื้อประกันดีมั้ย?

6.2 ความเสี่ยงด้านทรัพย์สิน:นั่นก็คือ หากเราหยุดทำงาน

(ไม่ว่าจะลาออกหรือไม่อย ากลาออกก็ตาม) เรามีความพร้อมรึยัง?

หากไม่มี สิ่งแรกที่ควรทำ คือสำรองเงิ นฉุกเฉิน ประมาณ 6 เดือน

ของรายจ่ายเอาไว้ก่อน

6.3ความเสี่ยงในการดำเนินชีวิต : เช่นหากวันหนึ่ง เพื่อนๆขับรถแล้วเกิดอุบัติเหตุ

เรามีประกันภัยรถยนต์รึเปล่า? ถ้าไม่มีจะซื้อมั้ย? ซื้อประกันแบบไหนดี?

7.ศึกษาเรื่องภาษีได้แล้ว

ยิ่งรายได้มาก ก็อย่าลืมว่าภาษีต้องเพิ่มขึ้น เป็นเงาตามตัว เพราะถือเป็นกฎหมาย

ที่ทุกคนในชาติ ต้องปฏิบัติตามสิ่งที่เพื่อนๆ ควรศึกษาคือกฎหมายต่างๆ

ที่เกี่ยวข้องกับภาษี ไม่ว่าจะเป็นการลดหย่อน หรือการละเว้นใดๆก็ตาม

เมื่อเราถึงวัย 30 ปี นอกจากชีวิตจะแข็งแกร่งขึ้นแล้ว ยังมีแนวโน้ม ที่เราจะโฟกัส

ในสิ่งที่เราสนใจมากๆจริงๆ และตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป ได้มากกว่าเดิม

ขอขอบคุณ : aommoney

Load More Related Articles
Load More By admin01 admin01
Load More In ข้อคิด

Check Also

นิสัย 5 ข้อที่หัวหน้าเก่ง ควรต้องมี

เป็นหัวหน้าหรือเป็นเจ้านายอย่างเรา ก็ลำบาก เวลาจะติเตือนลูกน้องแต่ละที เวลาที่ได้งานไม่โอเ…